วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

How can packaging improve its public image?

How can packaging improve its public image?

The packaging industry faces concerted opposition from consumers, whether it be over plastic bags, so-called ‘excess’ packaging or recycling difficulties. How can it change public perceptions?

Mike Churchman Director Churchmans Marketing Communications Says:First, I would suggest commissioning research to better understand the beliefs that underlie public attitudes to packaging. To what extent, for example, are these attitudes a symptom of repressed guilt as we all devour more consumer goods? Use this understanding to develop a communication strategy that presents packaging as a public good, underpinning choice, health and rising standards of living worldwide.Consider running a short, sharp advertising campaign to stimulate debate and demolish myths. Update the Code of Practice for Responsible Packaging and distill it into no more than 10 ‘Principles of Packaging’, which all relevant companies can sign up to. Use these principles and other key messages in the continuing programme of political lobbying to ensure awareness of the packaging industry’s goals among a wide range of opinion formers. Take a long-term view. It takes years to change public attitudes, but it can be done with the right strategy, resources and leadership.

Michael Bennett Managing director Pelican Public Relations Says: Packaging will always get a tough time because it’s the material that’s left when the consumer has got what they want from inside.Businesses are increasingly concerned about their environmental image, yet very few use their packs to explain to customers how they are responding to the green agenda. This is a real missed opportunity.In reality, all packaging material sectors – glass, corrugated, metals, plastic and paper – have a great story to tell when it comes to reducing packaging waste, so the industry is starting from a sound base. I’d like to see packaging producers, industry organisations, brands and retailers jointly fund a national advertising, on-pack and PR campaign that highlights how good packaging preserves resources, reduces waste and delivers environmental benefits.By communicating a simple, consistent and co-ordinated message, consumers will begin to see packaging as a valued resource, rather than a load of old rubbish.
Adam Lewis Manager Burson-Marsteller Media headlines about excessive Easter egg Says: Packaging should be a warning sign for the industry. Unlike the proverbial egg hunt, this is an issue the industry can’t hide from. It is also a subject that won’t respond to ‘green-wash’. Modern consumers, increasingly informed by high-profile campaigns from environmental stakeholders, won’t have the wool pulled over their eyes. Words need to be backed by actions and investment.This creates an opportunity for the industry to show leadership and drive change across the retail sector. This could mean stepping up efforts to develop and promote more reusable or biodegradable materials. It might mean investing in more recycling facilities and doing more to educate people about what and how to recycle. This will give the industry something to communicate, but more importantly, it will create sustainable credibility among consumers. In this case, less really could mean more.
Charlie HoultChief executive Loewy Says : It’s not ‘game over’ for packaging, despite the recent Budget and the regular rumbles about the environment. But we can’t shrink from the debate; everyone needs to know where the responsibilities lie.We need to offer responsible choices to consumers so the onus is shifted to the supply chain and ultimate ‘end users’. The market can decide whether to pay a premium for recycled materials, or for the product deterioration issues of lower-specification products. It is the consumers who face an array of ethical dilemmas, whether food miles, e-numbers, sugar content or packaging ‘excess’.The industry has some say over the graphics used on packaging and could develop a kite mark or ‘Intel Inside’ endorsement against a code of conduct or environmental standard.Look at the oil industry and how confrontation has mellowed over the years. BP has transformed from petrol baron to an energy company. Yes, it invested millions in the move, but has done well to face concerns head on.The mantra here is: listen, unpick the debate, offer choice and be proactive.

Cited From:Packaging News, 03 April 2008

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

THE EVOLUTION OF PACKAGING DESIGN

วิวัฒนาการการออกแบบบรรจุภัณฑ์
THE  EVOLUTION  OF  PACKAGING  DESIGN

วิวัฒนาการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์  หรือการบรรจุหีบห่อ  เริ่มกระทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อใดนั้น  คงจะหาคำตอบที่แน่นอนได้ยาก  แต่ถ้าหากจะสันนิษฐานตามหลักฐานและ  สัญชาติญาณการเรียนรู้ของมนุษย์  นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาในเรื่องของการคิดค้นและการแก้ปัญหาเพื่อความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร  (CREATED  TO  MAKE  TRANSPORTTATION  EASIER)  แล้วอาจกล่าวเป็นเหตุเป็นผล  แห่งวิวัฒนาการของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น
 
เมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องบริโภคน้ำ  และอาหารเพื่อดำรงชีพของตนเอง  สิ่งแรกที่เป็นอุปกรณ์ช่วยนำพาอาหารเข้าสู่ปากได้ก็คือมือ  เช่นใช้อุ้งมือรองรับ  หยิบ จับเอาอาหาร  แต่ถ้าเกิดความต้องการที่มากขึ้น  อุ้งมือทั้งสองข้างก็ไม่สามารถสนองความต้องการได้  ดังนั้นมนุษย์จึงเริ่มมีการเรียนรู้และคิดค้น  เพื่อแก้ปัญหาขึ้น  ด้วยการมองหาวัสดุที่มีอยู่รอบกายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอุ้งมือเช่นเป็นแอ่ง  หลุมหรือลักษณะใกล้เคียงและมีพื้นที่การรองรับได้มากกว่า  สะดวกกว่า  เข้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายนำพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ  เช่น  ใบไม้  เปลือกไม้  เปลือกหอย  กระบอกไม้  กระเพราะสัตว์  หนังสัตว์  ฯลฯ  เป็นต้น  การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ  (RAW  MATERIALS)  จากธรรมชาติเข้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร  การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของบรรจุ  (FILLING)

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีเวลาว่าง  และความต้องการมากขึ้นก็เริ่มให้ความสนใจกับเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้  ด้วยการนำมาขัดเกลา  ตกแต่งประดิดประดอยเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับการจับ  ถือ  หิ้วหรือหาบคอน 
ไม่ให้เป็นที่ระคายเคืองต่อสรีระร่างกาย และสามารถอำนวยความสะดวกสบายแก่การเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสารมากขึ้น  เช่น  การรู้จักเย็บกระทงจากใบไม้  รู้จักการนำเอาเถาวัลย์  กิ่งไม้  ใบหญ้า  มาขัด  สาน  ทอ  ขึ้นเป็นกระจาด  ตะกร้า  ชะลอม  และรู้จักการนำเอาหนังสัตว์มาพับ  เย็บ  มัดห่อหุ้ม  พืชพันธ์ธัญญาหาร  จากการที่มนุษย์ในสมัยก่อนรู้จักการประดิษฐ์  คิดค้นภาชนะบรรจุ  ด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง  จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน (PRIMITIVE  PACKAGING  DESIGN)  ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้
นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า  มนุษย์เผ่าพันธุ์แรกที่รู้จักการทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นพวกแรกคือ  มนุษย์โครมันยอง (CROMAGNON)  ซึ่งมีอายุอยู่ในราว  10,000-20,000  ปี ก่อนคริสตกาล  มนุษย์พวกนี้ทำให้เกิดระบบการผลิตและแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกันขึ้นมา  ในระยะแรกก็อาจจะเริ่มขึ้น
เฉพาะในหมู่ญาติมิตรหรือกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง  ต่อมาเมื่อการดำรงชีพเปลี่ยนแปลงไป  ประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็ทำให้ขนาดของชุมชนเปลี่ยนสภาพเป็นหมู่บ้าน  กลายเป็นเมือง  และจากเมืองกลายเป็นประเทศที่ขยายอาณาเขตกว้างไกลออกไป  รูปแบบการผลิตและการแลกเปลี่ยนธรรมดาจึงพัฒนาขึ้นเป็นระบบการผลิตเพื่อ  การค้าและการบริการ  (PRODUCTION  OF  GOODS  AND  SERVICE)  หรือระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม  (MASS  PRODUCTION)  เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการด้านการอุปโภคบริโภคของประชากรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ  ดังนั้นการขนส่ง  การบรรจุสินค้าและพัฒนารูปแบบสิ่งห่อหุ้มผลิตภัณฑ์จึงได้รับความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ  มีการคิดค้นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ขึ้นตามกาลเวลาและความก้าวหน้าทางวัตถุที่ค้นพบ  ดังเช่นจากหลักฐานที่ปรากฏว่าการทอผ้าและการผลิตเครื่องปั้นดินเผาถูกค้นพบและใช้เป็น
บรรจุภัณฑ์มาเมื่อประมาณ  8,000  ปีก่อนคริสตกาลและหลังจากนั้นไม่นานภาชนะเครื่องแก้วอย่างหยาบ ๆ ก็ถูกค้นพบ  โลหะ  ค้นพบราวปลายยุคหิน  และการรู้จักสร้างหีบไม้ถังไม้  ลังไม้  ก็เริ่มมีการใช้ในยุคของกรีกและโรมันเป็นต้นมา
 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์  จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า  (AID  TRANSPORTATION)  โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง  คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย  อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์  (TO  PREVENT  SPILLAGE  AND  CONTAMINATION)  ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค  ซึ่งบทบาทนี้ก็มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ () มีการพัฒนาขึ้นรองรับ  มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด  (CLOSED  CONTATNER)  เช่น  ถังไม้  (BARREL)  การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์  (CONTAINER  CLOSURE)  เช่น  มีฝาจุกปิดขวด  (BOTTLE  PLUG  SEALS) ฯลฯ  เป็นต้น  เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้  จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา  และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้

------------------------------------------------------------------
ความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อการแข่งขันทางการตลาด

อัตราแข่งขันด้านการค้าขายในภาวะเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน นับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนับว่าเป็นภาวการณ์หนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดทั้งมีการคิดค้นกลยุทธ กลวิธีทางการตลาดขึ้นมาอย่างมากมาย โดยมีจุดมุ่งหมายที่คล้ายคลึงกัน คือการได้มาซึ่ง “ความสนใจจากลูกค้า” และเงินตรา ฐานะความร่ำรวยทางเศรษฐกิจในที่สุด

ด้วยเหตุดังกล่าว บรรจุภัณฑ์จึงได้รับความสำคัญขึ้นมาเป็นอย่างมากและเป็นองค์ ประกอบหลักที่ผู้ผลิตนำมาเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขัน ซึ่งถ้าเปรียบตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีฐานะเป็นพระเอก (The Leader) บรรจุภัณฑ์ก็เปรียบเสมือนพระรอง (The Subordinate) (ประชิด ทิณบุตร, 2531) ที่นำมาเน้นย้ำการบริการด้วยตนเอง (Self Sevice) เป็นผู้ช่วยขายผลิตภัณฑ์เพราะสามารถแสดงตัวหรือตราสินค้า (Brand Name) ต่อผู้ใช้ประจำได้อย่างรวดเร็วและยังพยายามที่จะจูงใจผู้ที่ไม่เคยใช้ให้เกิดความคิด ความสนใจ อยากที่จะทดลองใช้เป็นครั้งแรกอีกด้วย ดังนั้นสินค้าและบรรจุภัณฑ์จึงเป็นของคู่กันมาตลอด ยิ่งสินค้าผลิตภัณฑ์มีการคิดค้นแข่งขันกันมากเท่าใด การบรรจุภัณฑ์ก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นตามไปมากเท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญสำหรับสินค้าและการตลาดอย่างจะขาดซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งมิได้ เพราะบรรจุภัณฑ์ได้แสดงบทบาทและหน้าที่ในการตลาด ดังต่อไปนี้คือ

1. การบรรจุและการคุ้มครองป้องกัน (Containtment and Protection)บรรจุภัณฑ์ซึ่งประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเอื้ออำนวยต่อการบรรจุและการคุ้มครอง ซึ่งภาชนะบรรจุจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถคุ้มครองผลิตภัณฑ์จากความเสียหาย เนื่องจากการขนส่ง ป้องกันการเน่าเสีย เก็บรักษาง่าย ไม่เสื่อมสลายไวเพราะผู้บริโภคไม่ต้องการที่จะได้รับอันตรายจากอาหารเป็นพิษหรือบาดแผลอันเนื่องมาจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เรียบร้อยสมบูรณ์

2. การบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Identification) บรรจุภัณฑ์ต้องแสดงให้เห็นตัวผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคในทันที โดยการใช้ชื่อการค้า (Trade Name เครื่องหมายการค้า (Trademark) ชื่อผู้ผลิตลักษณะและประเภทของสินค้า เข้ามาเป็นเครื่องมือบ่งชี้เพราะผู้บริโภคต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีรูปทรงเด่นชัดมองหาได้ง่ายตัวอักษรจึงควรมีขนาดพอเหมาะ อ่านง่าย สีที่ใช้ก็ควรให้เด่นหรือแตกต่างกัน ซึ่งนอกจากจะง่ายต่อการจดจำแล้วยังช่วยลดความผิดพลาดในการหยิบฉวยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการ ทั้งของร้านค้าปลีกและผู้บริโภคได้ดีอีกด้วย

3. การอำนวยความสะดวก (Convenience) ในแง่ของการผลิตและการตลาดนั้นบรรจุภัณฑ์ต้องเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการขนส่งและการเก็บรักษาในคลังสินค้า ซึ่งต้องมีความมั่นคงแข็งแรงสามารถที่จะวางซ้อน (Stacking) ทับกันได้หลายชั้นเพื่อประหยัดพื้นที่ ในระดับการขายปลีกก็เช่นกัน บรรจุภัณฑ์ก็ต้องมีขนาดรูปร่างที่ลงตัว (Fitness Size) ง่ายและสะดวกต่อการเรียงซ้อนกันในชั้นวางของหรือจัดแสดงโชว์ (Easy to Stack and Display) ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยพบเห็นบรรจุภัณฑ์ที่มีรูปสามเหลี่ยมหรือลักษณะพิเศษเฉพาะในร้านขายของชำ (Grocery Store) มากนัก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคนั้นเป็นการอำนวยความสะดวกในแง่ของการนำไปใช้สอยตาหน้าที่ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้งานและการเก็บรักษาเมื่อสินค้าถึงมือผู้บริโภค ผู้ออกแบบจึงต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมและสรีระร่างกายของมนุษย์ เช่นมีขนาดเหมาะมือ สะดวกต่อการจับ ถือ หิ้ว มีความปลอดภัยและเหมาะสมกับสภาวะการใช้งาน เป็นต้น

4. การดึงดูดความสนใจผู้บริโภค (Consumer Appeal) การที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ดีนั้น เป็นผลมาจากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง อาทิ ขนาด รูปร่าง รูปทรง สี วัสดุ ข้อความตัวอักษรบอกวิธีการใช้ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นรูปบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดก็คือสิ่งที่จะนำมาซึ่งความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง ผู้ออกแบบจะต้องสร้าง สิ่งที่ประกอบเป็นรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์นี้ให้เกิดประสิทธิภาพทางการสื่อสารและเกิดผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค (To Fit the Consumer Needs) เช่น

4.1 ออกแบบให้บรรจุภัณฑ์ที่มีหลายขนาด เพราะผู้บริโภคมีความต้องการ ขนาด ปริมาณ ตลอดจนงบประมาณการซื้อที่แตกต่างกัน

4.2 การใช้สีบนบรรจุภัณฑ์ ที่ให้ความรู้สึกสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ที่ห่อหุ้มอยู่ภายใน เช่น ใช้สีแดง ชมพู เขียว ฟ้า กับบรรจุภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง หรืออาหารเพื่อช่วยเสริมสร้างบรรยากาศให้รู้สึกสดใจ น่ากิน น่าใช้ เป็นต้น

4.3 การใช้รูปร่าง รูปทรงบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับมโนทัศน์เฉพาะกรณี เทศกาล โอกาส เพศและวัย ให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกร่วมสมัย (Contemporary Period) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจผู้บริโภคด้วยเช่นกัน เช่น เทศกาลวันแห่งความรัก วันปีใหม่ ฯลฯ ซึ่งบรรจุภัณฑ์จะแสดงตัวให้ผู้บริโภคทราบว่าควรจะนำไปใช้ในโอกาสหรือกรณีใดจึงจะเหมาะสม

บางกรณีบรรจุภัณฑ์อาจจะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยการเอื้ออำนวยความ สะดวกสบายในการนำไปใช้และให้ความรู้สึกคุ้มค่ากับเงินตราที่จ่ายออกไป เช่น การรวมผลิตภัณฑ์ขายเป็นชุดหรือหน่วยบรรจุรวม (Unit Packaging) เป็น 2, 4 , 6, 8, 12 หรืออาจมากกว่า ทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกสะดวกในการขนถ่าย ประทับใจในวัสดุและการออกแบบ โดยเฉพาะเกิดความรู้สึกว่ามีราคาถูกลง เมื่อเทียบราคาต่อหน่วยบรรจุ บางครั้งอาจจะสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถแปลงหน้าที่เป็นภาชนะบรรจุอย่างอื่นเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ภายในหมดไปแล้วได้อีก สร้างความรู้สึกต่อผู้บริโภคว่าได้ของแถม ( Premium ) ที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นมากลยุทธและวิธีการดังที่กล่าวมาแล้ว จึงนับว่าเป็นสิ่งที่บรรจุภัณฑ์ได้กระทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจให้เกิดพฤติกรรม การซื้อ การขาย การนำไปใช้ อันจะนำมาซึ่งวัฏจักรที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจอีกต่อไป

5. การเศรษฐกิจ (Economy) บรรจุภัณฑ์ มีบทบาทและหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เป็นองค์ประกอบร่วมในการกำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์เพราะถือว่าเป็นต้นทุนการผลิต (Production Cost) อีกอันหนึ่งที่ทำให้เกิดผลกำไรแก่ผู้ผลิต เกิดการว่าจ้าง เกิดการใช้แรงงาน ตลอดจนต้องมีการใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายต่างๆ มาสร้างให้บรรจุภัณฑ์สามารถมีบทบาทและหน้าที่ 4 ประการดังที่กล่าวมา ปัจจัยหลักต่างๆที่มีผลต่อราคาของบรรจุภัณฑ์ นั้นๆก็ได้แก่ ค่าใช้จ่ายของวัสดุบรรจุภัณฑ์ (Cost of Packaging Materials) ค่าใช้จ่ายของกรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์ (Cost of Manufacturing the Package) ค่าใช้จ่ายของการเก็บรักษาและการขนส่ง (Cost of Storage and Shipping) ค่าใช้จ่ายของเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตและการบรรจุภัณฑ์ (Cost of Equiptment Used to Manufacture and Fill Package) ค่าใช้จ่ายของการใช้แรงงานที่เกี่ยวข้อง (Cost of Associated Labor) เป็นต้น ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ มิใช่เพียงแต่มีผลต่อการกำหนดราคาสินค้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนไปอย่างครบวงจร ซึ่งอาจจะดีขึ้นหรือตกต่ำลงก็เป็นได้ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี วิธีการดำเนินชีวิต ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมของมวลมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยได้ดีอีกด้วย